ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

แฟรนเซียม (โลหะแอลคาไล)

แฟรนเซียม (อังกฤษ: Francium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 87 สัญลักษณ์ Fr แฟรนเซียมเคยเป็นที่รู้จักในชื่อ เอคา-ซีเซียม และ แอกทิเนียม K[note 1] มันเป็นหนึ่งในสองธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่ำที่สุด อีกหนึ่งคือ ซีเซียม แฟรนเซียมเป็นกัมมันตรังสีอย่างสูง สามารถสลายไปเป็นแอสทาทีน เรเดียม และเรดอนได้ ด้วยที่มันเป็นโลหะแอลคาไล มันจึงมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว

ยังไม่เคยมีใครเห็นแฟรนเซียมเป็นก้อนในปริมาณมากเลย คุณสมบัติทั่วไปของธาตุอื่น ๆ ในแถวเดียวกัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าแฟรนเซียมเป็นโลหะที่สะท้อนแสงได้สูง ถ้าเก็บแฟรนเซียมมาไว้รวมกันเป็นก้อนหรือของเหลวปริมาณมากพอ การได้สารตัวอย่างดังกล่าวมานั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากความร้อนจากการสลายตัว (ครึ่งชีวิตของไอโซโทปที่ยาวนานที่สุดคือเพียง 22 นาที) จะทำให้ธาตุปริมาณมากพอที่จะมองเห็น กลายเป็นไอได้

แฟรนเซียมถูกค้นพบโดยมาร์เกอริต เปอแรที่ฝรั่งเศส (ซึ่งได้นำมาตั้งเป็นชื่อธาตุนี้) ในปี พ.ศ. 2482 แฟรนเซียมเป็นธาตุสุดท้ายที่ค้นพบครั้งแรกจากในธรรมชาติ แทนที่ได้จากการสังเคราะห์[note 2] นอกห้องปฏิบัติการ แฟรนเซียมหายากมาก พบเป็นปริมาณน้อยมากในสินแร่ยูเรเนียมและทอเรียม ซึ่งแฟรนเซียม-223 เกิดขึ้นและสลายตัวตลอดเวลา ในเปลือกโลกสามารถพบแฟรนเซียม-223 ได้แค่ 20-30 กรัม (1 ออนซ์) ส่วนไอโซโทปอื่น ๆ (ยกเว้นแฟรนเซียม-221) ถูกสังเคราะห์ขึ้นทั้งหมด จำนวนแฟรนเซียมที่ผลิตมากที่สุดในห้องปฏิบัติการคือ 300,000 อะตอม

แฟรนเซียมเป็นธาตุที่ไม่เสถียรที่สุดที่เกิดตามธรรมชาติ เนื่องจากไอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ แฟรนเซียม-223 มีครึ่งชีวิตแค่ 22 นาทีเท่านั้น เทียบกับแอสทาทีนซึ่งเป็นธาตุที่ไม่เสถียรเป็นอันดับที่ 2 ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีครึ่งชีวิต 8.5 ชั่วโมงไอโซโทปของแฟรนเซียมทั้งหมดสลายตัวไปเป็นแอสทาทีน เรดอน หรือ เรเดียม อย่างใดอย่างหนึ่ง แฟรนเซียมยังเสถียรน้อยกว่าธาตุสังเคราะห์ทุกธาตุนับจนถึงธาตุที่ 105 ขึ้นไป

แฟรนเซียมเป็นธาตุในหมู่โลหะแอลคาไลซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกับซีเซียม แฟรนเซียมเป็นธาตุหนักที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเดียวมันมีน้ำหนักสมมูลสูงกว่าธาตุอื่นใด แฟรนเซียมเหลว ถ้าสร้างขึ้นได้แล้วควรจะมีแรงตึงผิว 0.05092 นิวตัน/เมตร ที่จุดหลอมเหลว มีการคำนวณว่า จุดหลอมเหลวของแฟรนเซียมมีค่าใกล้เคียงกับ 27 ?C (80 ? F, 300 K) จุดหลอมเหลวของแฟรนเซียมนั้นไม่แน่นอน เนื่องจากแฟรนเซียมเป็นธาตุหายากและเป็นกัมมันตรังสีสูง ดังนั้นค่าประมาณของจุดเดือดคืออุณหภูมิที่ 677 ?C (1250 ?F, 950 K) ก็ไม่แน่นอนเช่นกัน

ไลนัส พอลิงได้ประมาณค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของแฟรนเซียมไว้คือ 0.7 ในพอลิงสเกล เหมือนกับอิเล็กโทรเนกาติวิตีของซีเซียม จากนั้นมีการคำนวณค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของซีเซียมได้เท่ากับ 0.79 แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการทดลองใด ๆ ที่จะมาเป็นค่าของแฟรนเซียม แฟรนเซียมมีพลังงานไอออไนเซชันสูงกว่าซีเซียมเล็กน้อย แฟรนเซียมมีพลังงานไอออไนเซชั่นอยู่ 392.811 กิโลจูล/โมล ส่วยซีเซียมมีค่า 375.7041 กิโลจูล/โมล ดังที่คาดการณ์จากปรากฏการณ์สัมพัทธภาพ และสามารถบอกได้ว่าซีเซียมมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยกว่าแฟรนเซียม แฟรนเซียมควรจะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าซีเซียมและ Fr- ควรจะเป็นขั้วได้มากกว่า Cs- มีการทำนายว่าโมเลกุลของ CsFr มีปลายขั้วลบเป็นแฟรนเซียม ต่างจากโมเลกุลโลหะแอลคาไลที่อะตอมคู่ต่างกัน แฟรนเซียมซูเปอร์ออกไซด์ (FrO2) คาดว่าจะมีพันธะโคเวเลนต์ มากกว่าสารในตระกูลเดียวกัน เกิดจากอิเล็กตรอน 6p ในแฟรนเซียมเกี่ยวพันกับพันธะระหว่างแฟรนเซียมและออกซิเจนมากกว่า

แฟรนเซียมตกตะกอนร่วมกับเกลือซีเซียมหลายชนิด เช่น ซีเซียมเปอร์คลอเรต ได้เป็นแฟรนเซียมเปอร์คลอเรตปริมาณเล็กน้อย การตกตะกอนร่วมนี้สามารถใช้แยกแฟรนเซียม โดยปรับใช้วิธีการตกตะกอนร่วมรังสีซีเซียมของเกล็นเดนิน และเนลสัน มันจะตกตะกอนร่วมกับเกลือซีเซียมชนิดอื่น ๆ เพิ่มอีก เช่น ไอโอเดต พิเครต ทาร์เทรต (รูบิเดียมทาร์เทรต เช่นกัน) คลอโรพลาทิเนต และซิลิโคทังสเตต มันยังตกตะกอนร่วมกับกรดซิลิโคทังสติก และกรดเปอร์คลอริก โดยไม่ต้องใช้โลหะแอลคาไลอื่นเป็นตัวพา ทำให้มีวิธีการแยกสารแบบอื่นด้วย เกลือแฟรนเซียมเกือบทุกชนิดละลายน้ำได้

เนื่องจากความไม่เสถียรและหายาก แฟรนเซียมจึงไม่ได้ถูกนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ แต่ส่วนใหญ่จะถูกใช้ไปกับการวิจัยทางชีววิทยา และโครงสร้างอะตอม มีการค้นพบการใช้แฟรนเซียมเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งหลายชนิดแล้วด้วย แต่การกระทำเช่นนี้ยังปฏิบัติจริงไม่ได้

ความสามารถของแฟรนเซียมที่จะสังเคราะห์ ตรวจสอบ และทำให้เย็นลง พร้อมกับโครงสร้างอะตอมที่เรียบง่าย ได้ทำให้มันเป็นเป้าหมายการทดลองสเปกโทรสโกปี การทดลองเหล่านี้ได้นำไปสู่การเพิ่มเติมของข้อมูลเกี่ยวกับระดับพลังงานและค่าคงที่คู่ควบ (Coupling constant) ระหว่างอนุภาคมูลฐานด้วยกัน การศึกษาบนพื้นฐานของแสงที่ปล่อยออกมาโดยจับด้วยเลเซอร์ของไอออนแฟรนเซียม-210 ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนระหว่างระดับพลังงานของอะตอมซึ่งคล้ายกับผลที่ได้จากการทำนายของกลศาสตร์ควอนตัม

เมื่อปี พ.ศ. 2413 นักเคมีคิดว่าควรจะมีโลหะแอลคาไลที่เกินซีเซียมที่มีเลขอะตอม 87 ในขณะนั้นเรียกกันว่า เอคา-ซีเซียม ทีมวิจัยพยายามที่จะหาตำแหน่งและแยกธาตุที่หายไปนี้ และมีคำกล่าวอ้างอย่างน้อย 4 คำกล่าวเกิดขึ้นก่อนจะเกิดการค้นพบที่แท้จริง

นักเคมีของสหภาพโซเวียต ดีเค เดอโบรเซอร์ดอฟ เป็นนักวิทยาศาสตร์คนเแรกที่อ้างว่าได้ค้นพบเอคา-ซีเซียม ใน พ.ศ. 2468 เขาสังเกตเห็นกัมมันตรังสีอย่างอ่อนในสารตัวอย่างโพแทสเซียม ซึ่งเป็นโลหะแอลคาไลอีกชนิดหนึ่ง และเขาจึงสรุปว่า เอคา-ซีเซียมปนเปื้อนอยู่ในตัวอย่าง (ส่วนกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนในตัวอย่างนั้น ภายหลังได้ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นโพแทสเซียม-40) ซึ่งไม่ถูกต้อง หลังจากนั้นก็ได้ตีพิมพ์บทความที่เล่าถึงการพยากรณ์คุณสมบัติของธาตุเอคา-ซีเซียม ให้ชื่อว่า รัสเซียม ซึ่งตั้งชื่อตามประเทศบ้านเกิดของเขา หลังจากนั้นไม่นาน เดอโบรเซอร์ดอฟเริ่มให้ความสำคัญกับอาชีพครูในวิทยาลัยโพลีเทคนิคโอเดสซา และไม่ได้ศึกษาธาตุเอคา-ซีเซียมอีก

ปีถัดมา นักเคมีอังกฤษ เจอรัลด์ เจ. เอฟ. ดรูซ และเฟรดเดอริก เอช. ลอริง ได้วิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีเอกซ์ของแมงกานีส (II) ซัลเฟต พวกเขาสังเกตเห็นเส้นสเปกตรัมซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นของเอคา-ซีเซียม พวกเขาได้ประกาศการค้นพบธาตุที่ 87 นี้และเสนอชื่อว่า แอลคาไลเนียม เนื่องจากมันจะเป็นโลหะแอลคาไลที่หนักที่สุด

ในปี พ.ศ. 2473 เฟรด แอลลิสัน จากสถาบันโพลีเทคนิคแอละแบมา อ้างว่าได้ค้นพบธาตุที่ 87 เมื่อวิเคราะห์แร่โพลูไซต์และเลพิโดไลต์ โดยใช่อุปกรณ์ magneto-optical แอลลิสันขอให้ตั้งชื่อมันว่า เวอร์จิเนียม ตามชื่อรัฐบ้านเกิดของเขา เวอร์จิเนีย และให้สัญลักษณ์ว่า Vi หรือ Vm. แต่ใน ค.ศ. 1934 เอช. จี. แมกเฟอร์สัน จากมหาวิทยาลัยเบอร์คีเลย์ได้พิสูจน์แย้งประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่แอลลิสันใช้ และพิสูจน์ว่าสิ่งที่แอลลิสันค้นพบนั้นเป็นเท็จ

ในปี พ.ศ. 2479 นักฟิสิกส์ชาวโรมาเนีย โฮเรีย ฮูลูไบ และเพื่อนร่วมงานชาวฝรั่งเศส อีเวตต์ คาวชอยส์ ได้วิเคราะห์แร่โพลูไซต์อีกครั้ง แต่ในครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือรังสีเอกซ์คุณภาพสูง เขาสังเกตเห็นเส้นที่คล้ายกับแก๊สถูกปล่อยออกมาอย่างอ่อน ทำให้ทั้งคู่สันนิษฐานว่าคือธาตุที่ 87 ฮูลูไบตีพิมพ์รายงานการค้นพบดังกล่าวและเสนอชื่อว่า โมลดาเวียม ตามชื่อของโมลดาเวีย พร้อมด้วยสัญลักษณ์ Ml จังหวัดหนึ่งในโรมาเนียที่ฮูลูไบเกิด ปีถัดมา นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เอฟ. เอช. เฮิร์ช จูเนียร์ ได้วิจารณ์การค้นพบของฮูลูไบ ไม่ยอมรับวิธีการวิจัยของฮูลูไบ เฮิร์ชแน่ใจว่าเอคา-ซีเซียมไม่มีทางพบได้ในธรรมชาติ และสิ่งที่ฮูลูไบค้นพบจริง ๆ นั้น คือรังสีเอกซ์ของปรอท หรือบิสมัท ฮูลูไบยืนหยัดว่าเครื่องมือรังสีเอกซ์และวิธีการของเขาแม่นยำเกินที่จะผิดพลาดได้ ด้วยเหตุนี้ ฌ็อง-บัพติท แปแร็ง ผู้ได้รับรางวัลโนเบลและผู้ช่วยของฮูลูไบ ให้การรับรองว่าโมลดาเวียมเป็นเอคา-ซีเซียมจริง มิใช่แฟรนเซียมอย่างที่มาร์เกอริต เปอแรเพิ่งค้นพบ เปอแรวิจารณ์งานของฮูลูไบจนกระทั่งเธอได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ค้นพบธาตุที่ 87 ได้เพียงคนเดียว

เอคา-ซีเซียม ถูกค้นพบใน พ.ศ. 2482 โดยมาร์เกอริต เปอแร จากสถาบันคูรี ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเธอทำให้ตัวอย่างของแอกทิเนียม-227 บริสุทธิ์ ซึ่งเธอได้รับรายงานว่ามีพลังงานสลายกัมมันตรังสี 220 KeV เปอแรเห็นว่าอนุภาคสลายตัวที่ระดับพลังงานต่ำกว่า 80 KeV เปอแรคิดว่ากิจกรรมการสลายตัวนี้อาจเกิดจากการสลายตัวของผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบแน่ชัด ผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งถูกแยกออกระหว่างกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ แต่ปรากฏออกมาอีกครั้งเป็นธาตุอื่นที่ไม่ใช่แอกทิเนียม-227 การทดลองหลายครั้งได้ตัดความเป็นไปได้ว่าธาตุดังกล่าวจะเป็นทอเรียม เรเดียม ตะกั่ว บิสมัท หรือแทลเลียม ผลิตภัณฑ์ใหม่แสดงคุณสมบัติทางเคมีของโลหะแอลคาไล (เช่น การตกตะกอนร่วมกับเกลือซีเซียม) ทำให้เปอแรเชื่อว่ามันคือธาตุที่ 87 เกิดจากการสลายให้อนุภาคแอลฟา ของไอโซโทปแอกทิเนียม-227 แล้วเปอแรก็พยายามกำหนดสัดส่วนของการสลายให้อนุภาคบีตา สลายตัวให้อนุภาคแอลฟา ในแอกทิเนียม-227 การทดลองครั้งแรกของเธอให้ผลออกมาว่ามีโอกาสเกิดการสลายตัวแอลฟา 0.6 % ซึ่งต่อมาเธอแก้ไขให้เป็น 1 %

เปอแรได้ให้ชื่อไอโซโทปใหม่นี้ว่า แอกทิเนียม-เค (ในภายหลังได้พิสูจน์ว่าคือ แฟรนเซียม-223) และในปี พ.ศ. 2489 เปอแรได้ให้ชื่อว่า คาเทียม สำหรับธาตุที่ค้นพบใหม่ เนื่องจากเธอเชื่อว่าธาตุนี้จะเป็นไอออนประจุบวกที่มีอิเล็กโตรโพซิติวิตีมากที่สุด แต่อีเรน ฌูลีโอ-กูรี หนึ่งในผู้ดูแลของเปอแร ได้แย้งว่าคำว่า cat จะหมายถึงแมว มากกว่า cation (ไอออนประจุบวก) ต่อมาเปอแรเสนอแนะชื่อธาตุใหม่นี้ว่า แฟรนเซียม ตามประเทศฝรั่งเศส เป็นชื่อทางการที่ได้รับการยืนยันโดยสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2492 กลายเป็นธาตุตัวที่สองที่ตั้งชื่อตามประเทศฝรั่งเศส ถัดจากแกลเลียม มีการเสนอสัญลักษณ์ให้ธาตุนี้ว่า Fa แต่ภายหลังก็ถูกเปลี่ยนเป็น Fr หลังจากนั้นไม่นาน แฟรนเซียมเป็นธาตุสุดท้ายที่พบในธรรมชาติ มิได้สังเคราะห์ขึ้น ถัดจากรีเนียมที่ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2468ซิลเวน ไลเบอร์แมน และทีมของเขาได้งานวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างของแฟรนเซียมต่อไปอีกที่องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980

แฟรนเซียม-223 เป็นผลผลิตที่ได้จากการสลายตัวแอลฟาของแอกทิเนียม-227 และพบได้ในแร่ยูเรเนียมและทอเรียม ในตัวอย่างยูเรเนียมตัวอย่างหนึ่ง จะมีแฟรนเซียมที่ถูกผลิตขึ้นอยู่ทุก ๆ 1 ? 1018 อะตอมของยูเรเนียม และยังมีการคำนวณว่า ที่เวลาใด ๆ จะพบแฟรนเซียมในเปลือกโลกอย่างมาก 30 กรัม

ในกระบวนการนี้ ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยสโตนีบรูก แฟรนเซียมที่ผลิตออกมาสามารถเป็นแฟรนเซียม-209 210 และ 211 ที่ถูกแยกด้วยกับดัก magneto-optical (MOT) อัตราการผลิตไอโซโทปแฟรนเซียมขึ้นอยู่กับปริมาณพลังงานของลำแสงออกซิเจน-18 ลำแสงออกซิเจน-18จากเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น หรือลิแนก (LINAC) ของสโตนีบรูกนี้ สร้างแฟรนเซียม-210 โดยยิงไปที่อะตอมของทองคำด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ 197Au + 18O  210Fr + 5n การผลิตนี้ต้องใช้เวลาพัฒนาและทำความเข้าใจ เนื่องด้วยอุณหภูมิระหว่างการเกิดปฏิกิริยาใกล้เคียงกับจุดหลอมเหลวของทองคำและต้องมั่นใจว่าบริเวณนั้นสะอาดที่สุด ปฏิกิริยานิวเคลียร์นี้ได้ทำให้อะตอมของแฟรนเซียมฝังลึกเข้าไปในทองคำ และพวกมันจะต้องสลายไปอย่างมีประสิทธิภาพ อะตอมของแฟรนเซียมจะกระจายไปทั่วผิวของทองคำอย่างรวดเร็วและถูกปลดปล่อยออกมาในรูปของไอออน สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้ง ไอออนของแฟรนเซียมถูกนำโดยเลนส์ไฟฟ้าสถิตจนกระทั่งมันลงมาถึงผิวของอิตเทรียมร้อนและกลับมาเป็นกลางอีกครั้ง จากนั้นแฟรนเซียมจะถูกฉีดไปในหลอดแก้ว สนามแม่เหล็กและลำแสงเลเซอร์จะเย็นตัวลงและจำกัดอะตอม ถึงแม้ว่าอะตอมจะอยู่ภายในกับดักเพียงประมาณ 20 วินาทีก่อนที่มันจะหลุดออกมา (หรือสลายตัว) แต่กลุ่มอะตอมใหม่จะมาแทนที่ส่วนที่หลุดไป ทำให้อะตอมที่ติดกับยังอยู่อย่างนั้นนานหลายนาทีหรือนานกว่านั้น ในขั้นต้น อะตอมแฟรนเซียมจำนวน 1,000 อะตอมได้ถูกกักไว้ในการทดลอง และก็มีการพัฒนาจนสามารถกักอะตอมแฟรนเซียมที่เป็นกลางไว้ได้ 300,000 อะตอมในการทดลองเพียงครั้งเดียว ถึงแม้ว่าอะตอมโลหะ ("โลหะแฟรนเซียม") ที่ได้เหล่านี้จะเป็นกลาง พวกมันจะอยู่ในสถานะแก๊สที่ไม่เกาะกลุ่มกัน แฟรนเซียมปริมาณเพียงพอถูกตรวจจับได้จนกล้องวีดีโอสามารถจับแสงที่ออกจากอะตอมเมื่อมันเปล่งแสง อะตอมเหล่านี้จะปรากฏเป็นทรงกลมเรืองแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร และวิธีนี้ทำให้เห็นแฟรนเซียมด้วยตาเปล่าได้เป็นครั้งแรก ปัจจุบัน นักวิจัยสามารถวัดแสงที่เปล่งและดูดกลืนโดยอะตอมที่ถูกกัก และให้ผลการทดลองครั้งแรกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระหว่างระดับพลังงานต่าง ๆ ของแฟรนเซียม การวัดครั้งแรกให้ผลที่ตรงกับค่าและการคำนวณจากการทดลองทฤษฎีควอนตัมเป็นอย่างมาก มีการสังเคราะห์ด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การยิงอะตอมเรเดียมด้วยนิวตรอน และยิงอะตอมทอเรียมด้วยโปรตอน ดิวเทอรอน หรือไอออนฮีเลียม แฟรนเซียมยังไม่เคยถูกสังเคราะห์ในปริมาณมากพอที่จะประเมินได้

แฟรนเซียมมี 34 ไอโซโทป มีมวลอะตอมตั้งแต่ 199-232 แฟรนเซียมมี 7 ไอโซเมอร์นิวเคลียร์กึ่งเสถียร แฟรนเซียม-221 และแฟรนเซียม-223 เป็นเพียงสองไอโซโทปที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ โดยจะพบแฟรนเซียม-221 ได้ง่ายกว่า

แฟรนเซียม-223 เป็นไอโซโทปที่เสถียรที่สุดด้วยครึ่งชีวิต 21.8 นาที และไอโซโทปแฟรนเซียมที่มีครึ่งชีวิตนานกว่านี้จะไม่อาจพบหรือสังเคราะห์ขึ้นได้อีก แฟรนเซียม-223 เป็นผลิตภัณฑ์ลำดับที่ห้าของกระบวนการสลายตัวของแอกทิเนียม โดยได้จากการสลายตัวของแอกทิเนียม-227 จากนั้นแฟรนเซียม-223 จะสลายตัวไปเป็นเรเดียม-223 โดยสลายให้อนุภาคบีตา (พลังงานสลายตัว 1149 keV) และยังมีโอกาสเล็กน้อน (0.006 %) ที่มันจะสลายตัวให้อนุภาคแอลฟาไปเป็นแอสทาทีน-219

แฟรนเซียม-221 มีครึ่งชีวิต 4.8 นาที ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ลำดับที่ 9 ของกระบวนการการสลายตัวของเนปทูเนียม โดยได้จากการสลายตัวของแอกทิเนียม-225 จากนั้น แฟรนเซียม-221 สลายตัวเป็นแอสทาทีน-217 โดยสลายตัวให้อนุภาคแอลฟา (พลังงานสลายตัว 6.457 MeV)

ไอโซโทปที่เสถียรน้อยที่สุดในสถานะพื้นคือแฟรนเซียม-215 ซึ่งมีครึ่งชีวิตอยู่ 0.12 ไมโครวินาที (ใช้พลังงาน 9.54 MeV สลายให้อนุภาคแอลฟาไปเป็นแอสทาทีน-211) ไอโซเมอร์กึ่งเสถียร แฟรนเซียม-215m ก็ยังเสถียรน้อยกว่า มีครึ่งชีวิตอยู่ที่ 3.5 นาโนวินาทีเท่านั้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406